การนำเสนอโครงการระดับนานาชาติ

การนำเสนอโครงการระดับนานาชาติ

Current Status
Not Enrolled
Price
$25000
Get Started
or

การเตรียมความพร้อม เพื่อการนำเสนอโครงการระดับนานาชาติ

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อการนำเสนอโครงการระดับนานาชาติ” (International Project Proposal : Preparations Coaching)

หลักสูตรนี้มีเปิดสอนที่เดียว โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติ และผู้เขียนตำราที่มีในท้องตลาดทางด้านนี้ แต่เพียงผู้เดียว

ภารกิจ
ให้ความรู้เพื่อความเข้าใจวิธีที่ถูกต้อง และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการรับงานโครงการระดับนานาชาติ เช่น จาก Asian Development Bank (ADB.), World Bank และสถาบันอื่นๆ เมื่อศึกษาจบแล้วท่านจะได้รับการลงทะเบียนไว้เพื่อ:
1. รับ ข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยประมาณ 20-30 โครงการใหม่ๆ ในทุกกรอบงาน  
2. เป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกทีมที่ปรึกษาของ เอส อี เอ คอนซัลติ้ง กรณีที่บริษัท รับทำโปรเจคแล้วตรงกับความเชี่ยวชาญหรือความสนใจของท่าน
3. กรณีที่ท่านรับงานตรง(ซึ่งทางเรายินดีและส่งเสริม) เป็นการส่วนตัว (Individual) โดยตรงทางจากสถาบันที่นำเสนอโครงการ เราจะยินดีให้การสนับสนุนท่านอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ในการอบรมครั้งนี้เราจะเอา Case จริงมาทำด้วยกันในระหว่าง Workshop ด้วย

หลักการและความสำคัญ
(1) ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมามีการนำแนวคิดทางด้านการจัดการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มาปรับใช้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้นถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะมีมานานพอควรแล้วก็ตาม โดยอาจจะมีการเรียกชื่อที่ต่างกันไปบ้าง อาทิ Result – based Management, Performance Management และ Managing for Outcomes เป็นต้น ซึ่งหากจะประมวลแนวคิดดังกล่าวทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าล้วนต้องการการจัดการที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Result Management) นั่นเองว่าไปแล้วการจัดการให้เกดผลสัมฤทธิ์นี้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการจัดการในภาคธุรกิจ การวิจัยสังคมประยุกต์ การประเมินผลแผนงานและการจัดการด้านการใช้จ่ายการเงินงบประมาณ โดยแนวคิดเริ่มแรกมีการนำไปใช้ในองค์กรภาคเอกชนก่อน แล้วก็ได้มีการนำมาปรับใช้ในภาครัฐ

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และ 1990 และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก็เริ่มมีการนำมาใช้ในหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมทางด้านการพัฒนา รวมทั้งองค์กรพหุภาคีระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วย
พัฒนาการขององค์ความรู้ด้านนี้มีการปรับปรุงและกำหนดแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิผลมากมาจากการทำงานขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่น่าสนใจในการเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การวางแผนและการบริหารโครงการนับว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินกลยุทธ์โครงการและเป็นส่วนสำคัญของการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การดำเนินการโครงการให้สำเร็จต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการร่วมวางแผนและการกำหนดปัจจัยที่สำคัญของการขับเคลื่อนโครงการให้ไปสู่ความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาของรัฐและกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ของหน่วยงานราชการหรือว่าภาคเอกชนที่ต้องการโครงการที่มั่นใจได้ว่าองค์กรจะสามารถบรรลุในสิ่งที่ต้องการ นับว่ามีความสำคัญและมีบทบาทอย่างสูงต่อการดำเนินงานตามภารกิจและแผนงานต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนและบริหารโครงการแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

  • วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์และวิธีการวางแผนโครงการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ และเยอรมนี รวมทั้งธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เป็นต้น
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษาและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กรหรือในระดับพื้นที่ได้ต่อไป
    3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับแนวทางที่จะเป็นเครื่องมือที่เข้าใจได้ง่ายในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์และการวางแผนและการบริหารโครงการแบบมีส่วนร่วม
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับแนวทางที่จะเป็นเครื่องมือที่เข้าใจได้ง่ายในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างสะดวก รวดเร็ว อาทิ การวิเคราะห์การมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ปัญหา การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ทางเลือก และการจัดทำแผนหลัก
    3. ได้รับการเพิ่มพูนทักษะ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นผู้อำนวยการวางแผน (Moderator) ให้หน่วยงานดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ในโอกาสต่อไป
  • รายละเอียดหลักสูตร
    1. แนวคิดการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ห่วงโซ่ผลสัมฤทธิ์
    – การนำแนวทางการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
    – ลักษณะของการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ปัจจัยสำคัญในการติดตั้งระบบการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    2. หลักการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ความหมายและความเชื่อมโยงของผลสัมฤทธิ์ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ
    – การเชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ
    – การจัดการผลงาน(Performance Management)
    3. กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – แนวทางการกำหนดกรอบผลสัมฤทธิ์
    – วงจรการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ระยะต่างๆของการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์กับความเชื่อมโยงกับการวางแผน
    4. การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ
    – การนำการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปใช้ในระดับต่างๆ
    – การประยุกต์ใช้การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ
    5. การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับโครงการ
    – การวัดผลงานในระดับโครงการ
    – ภาพรวมของระยะต่างๆในการวัดผลงานระดับโครงการ
    6. การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับแผนงาน
    – กระบวนการกำหนดแผนงาน
    – กรณีศึกษา : แนวทางการพัฒนากรอบผลสัมฤทธิ์แผนงานของสหรัฐและอังกฤษ(DFID)
    7. การจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับหน่วยงาน
    – กรอบการจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในระดับหน่วยงาน
    – แนวทางในการจัดทำกรอบผลงานในระดับหน่วยงาน
    8. หลักและเทคนิคการประเมินองค์กรเพือประเมินผลงาน
    – กรอบการประเมินองค์กร
    – แนวทางการประเมินองค์กร
    – การติดตามและประเมินผลองค์กร
    9. การติดตามมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ขั้นตอนการติดตามผลสัมฤทธิ์
    – ประเภทและระดับของการติดตาม
    – หลักสำคัญในการสร้างระบบการติดตาม
    – กรณีศึกษา : การติดตามมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางเยอรมัน
    10. การประเมินผลมุ่งผลสัมฤทธิ์
    – ความแตกต่างระหว่างการวัดผลงานกับการประเมินผล
    – ระดับและประเภทของการประเมินผล
    – กรณีศึกษา : การประเมินผลตามแนวทางของธนาคารโลก
    – ลักษณะของการประเมินผลที่มีคุณภาพ
    – การทำให้ระบบการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ใช้ได้จริงในองค์กร
  • การวางแผนและการบริหารโครงการแบบมีส่วนร่วม
    1. แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
    2. การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของบุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง
    3. การวิเคราะห์ปัญหา
    4. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
    5. การวิเคราะห์ทางเลือก
    6. การจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จ
    7. การกำหนดหลักฐานการตรวจสอบ
    8. การกำหนดข้อสมมติฐานที่สำคัญ
    9. การจัดทำแผนหลัก
    10. แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ
    11. การบริหารโครงการ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้ดำเนินการการด้านการวางแผน ด้านการกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดทำโครงการ การวัดผลงาน และวิทยากรอำนวยการที่สนใจด้านการวางแผนและการจัดการผลสัมฤทธิ์